วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขนมทองชมพูนุช


ขนมทองชมพูนุช 

           ขนมทองชมพูนุช    องชมพูนุชมีรสชาติ และสีขนมคล้ายทองเอก แต่ต่างจากทองเอก ในเรื่องของส่วนผสมแป้งคนละชนิดกัน และไม่ติดทองคำเปลวแท้ มีสีเหลืองโปร่ง สุขสว่าง ตามความหมายของชื่อทองชมพูนุช 

           ส่วนผสม
สำหรับประมาณ 40-45 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดพิมพ์ที่ใช้กดแต่ละลวดลาย
เวลา 45 นาที โดยประมาณ 

1. ไข่ไก่(ไข่แดง) 5 ฟอง 
2. แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
3. แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
4. กะทิ 1 ถ้วยตวง
5. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

        วิธีทำ

1. ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ให้เข้ากัน นวดด้วยกะทิ
2. นำไข่แดง น้ำตาลทราย คนให้เข้ากันแล้วนำมารวมกับส่วนผสมข้อ 1
3. นำขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ กวนจนได้
4. ใส่พิมพ์ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเคาะออก นำไปอบควันเทียน 



อ้างอิง : http://www.foodtravel.tv           
            http://th.wikipedia.org
            http://www.kanomthongthai.ueuo.com/

 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9        

ขนมกลีบลำดวน

กลีบลำดวน

        กลีบลำดวน  ขนมไทยโบราณชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแป้งสาลี เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน เหตุที่เรียกว่ากลีบลำดวนเนื่องจากลักษณะของขนมชนิดนี้คล้ายกับดอกลำดวน

      ส่วนผสม

1. แป้งสาลี (ร่อน-ตวง) 1 ถ้วย
2. น้ำตาล (ป่น-ร่อน-ตวง) หรือ น้ำตาลไอซิ่ง 1/2 ถ้วย
3. น้ำมันหมู 3 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
5. เทียนอบ 


     วิธีทำ

1. ผสมแป้งสาลีกับน้ำตาลเข้าด้วยกัน นำไปร่อน 2 ครั้ง เสร็จแล้วใส่น้ำมันพืช (หรือเนยขาว) ลงไปผสม นวดจนส่วนผสมทั้งสามเข้ากันดี

2. ปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆขนาดเท่าๆกัน ใช้มีดคมๆแบ่งแป้งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน

3. จับวางเป็น 3 กลีบ ส่วนอีก 1 กลีบที่เหลือให้ปั้นเป็นลูกกลมๆวางตรงกลางกลีบทั้งสามเป็นเกสร ก็จะได้รูปทรงดอกไม้ ทำเช่นนี้จนแป้งหมด เรียงไว้ในถาด

4. นำแป้งไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 300 องศาฟาเรนไฮต์ประมาณ 10 - 15 นาทีหรือจนสุก จะได้ขนมที่มีลักษณะผิวนวล กรอบ นำไปอบควันเทียนให้หอม ก็พร้อมรับประทานได้ทันที
หมายเหตุ : ถ้าต้องการกลีบหรือเกสรที่ต่างสีกัน ก็ให้แยกส่วนผสมแป้งในขั้นตอนที่หนึ่ง แล้วผสมสีตาม ที่ชอบขณะใส่น้ำมันพืชลงไปนวด ควรใช้สีโทนอ่อนจะน่ารับประทานมากกว่าสีเข้ม




อ้างอิง : http://www.foodtravel.tv
            http://th.wikipedia.org
            http://www.ezythaicooking.com
 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9        

ขนมลืมกลืน

ขนมลืมกลืน

            ขนมลืมกลืน ขนมไทยที่ทำจากแป้งถั่วเขียวหรือแป้งสลิ่ม ผสมน้ำลอยดอกไม้และน้ำตาล นำไปกวนจนใส หยอดหน้าด้วยกะทิ รสชาติหวานหอม มันๆ เค็มๆ จากตัวกะทิ ทานอร่อยจนทำให้ลืมกลืนตามชื่อขนมไปเลย 

          ส่วนผสม

ระยะเวลาประมาณ 1ชม 30 นาที
สำหรับ 50 พิมพ์กลมเล็ก


1. แป้งถั่ว 1 ถ้วย
2. น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 6 ช้อนโต๊ะ
4. หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
5. แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
6. เกลือป่น 1/3 ช้อนชา
7. สีผสมอาหาร (ตามชอบ เช่น ชมพู ม่วง)


        วิธีทำ
1. อ่างผสมใส่แป้งถั่ว น้ำตาลทราย น้ำลอยดอกมะลิ คนให้ละลาย (ทำกี่สีก็แบ่งแป้งที่ผสมไว้ตามจำนวนสีที่ทำ) 
2. นำแป้งเทกรองใส่ผ้าขาวบางรองด้วยกระชอน ใส่ในกะทะทอง ใส่สีผสมอาหารที่ผสมน้ำให้เจือจาง (เพื่อให้สีให้อ่อนๆ) ตั้งไฟอ่อนถึงกลาง กวนจนแป้งสุกใส ตักหยอดพิมพ์ จนเต็มพิมพ์ ควรรีบใส่เพราะทิ้งไว้น้ำแป้งเย็นตัวจะจับตัวเป็นก้อน
3. กะทะทองใส่แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ เกลือ กวนไฟอ่อนๆ จนข้นขาว ใส่หยอดบนหน้าขนม หรือใส่กรวยบีบ


 
       เทคนิคการทำ

1. ตัวแป้งที่กวนจะแข็งตัวเร็ว ต้องรีบหยอด มิฉะนั้น ขนมจะไม่เรียบ
2. หน้าขนมต้องรีบหยอดขณะที่ตัวขนมยังไม่เย็น มิฉะนั้นหน้าขนมจะไม่ติดกับตัวขนม
3. หน้าขนมอาจใช้วิธีบีบโดยใส่หัวบีบเค้กบีบได้     

 






อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
              http://www.isaansmile.com
             
ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

บุหลันดั้นเมฆ


บุหลันดั้นเมฆ

       บุหลันดั้นเมฆ เป็นขนมแบบไทย ๆ ที่ดัดแปลงเพิ่มเติมจากขนมน้ำดอกไม้ มาใส่หน้าสังขยากลาย ๆ ทำให้รสชาติหวานแหลมและหอมขึ้น คำว่าบุหลันหมายถึงดวงจันทร์ ลักษ่ณะตัวขนมใช้น้ำดอกอัญชันสีฟ้าครามแทนเมฆ และวางไข่แดงตรงกลางแทนดวงจันทร์ มีสีสันสวยงาม รสชาติอร่อย 

       ส่วนผสม

สำหรับ 60-70 ถ้วย
เวลาที่ใช้ 90 นาที
1. แป้งข้าวเจ้า 110 กรัม
2. แป้งถั่วเขียว 50 กรัม
3. แป้งมันสำปะหลัง 20 กรัม
4. น้ำลอยดอกมะลิ 500 กรัม
5. น้ำตาลทราย 120 กรัม
6. ดอกอัญชัน (เอาเฉพาะกลีบสีน้ำเงินเข้มบี้หรือบด ผสมน้ำร้อนแล้วกรอง) 10-15 ดอก 

ส่วนผสมหน้าไข่แดง
1. ไข่ไก่ใช้แต่ไข่แดง 6 ฟอง
2. น้ำตาลทรายบดละเอียด 30 กรัม
3. น้ำตาลปี๊บ 20 กรัม

    วิธีทำ

    1. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทรายให้เข้ากัน ค่อย ๆ ใส่น้ำนวดจนนุ่ม จึงใส่น้ำที่เหลือจนหมด ใส่สีคนให้เข้ากัน
     2. เรียงถ้วยตะไลในลังถึง นำไปนึ่งในน้ำเดือด ๆ 10 นาที จึงนำแป้งที่ผสมมาคนให้แป้งเข้ากัน แล้วตักหยอดใส่ในถ้วยตะไลให้เต็ม ปิดลังถึง นึ่งในน้ำเดือดพล่าน นาย 3 นาที จึงยกลง พักให้ถ้วยอุ่น ๆ หยิบถ้วยมาเทเอาแป้งที่ยังไม่สุกออก ขนมจะเป็นรอยบุ๋มตรงกึ่งกลาง
     3. ผสมไข่แดง กับน้ำตาลทราย คนจนน้ำละลาย ตักหยอดในถ้วยขนมที่มีหน้าเป็นรอยบุ๋ม ให้เต็ม แล้วนำไปนึ่งไฟกลาง 10 นาที แล้วยกลง พักไว้ให้เย็น จึงแกะออกจากถ้วย




อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
               http://www.food-recipes.vzazaa.com
                http://www.mwthaicook.com

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

ขนมสัมปันนี

ขนมสัมปันนี

    ขนมสัมปันนีหรือสัมปะนี เป็นขนมไทยโบราณ จัดว่าเป็นขนมมงคลที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงาน มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส เรียกได้ว่ามาพร้อมๆกับขนมตระกูลทองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

     ส่วนผสม
1. แป้งสาลีเอนกประสงค์     1/2 ถ้วยตวง
2. กะทิข้น   3 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย    3 ถ้วยตวง
4. เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
5. สีผสมอาหาร
6. แป้งมันคั่วสุกแต่ไม่เหลืองสำหรับทำนวล

   วิธีทำ
1. ผสมกะทิกับน้ำตาลในกระทะทอง ตั้งไฟคนพอน้ำตาลละลายหมด ยกลงพักไว้จนเย็น
2. เคล้าแป้งกับเกลือแล้วเทกะทิจากกระทะลงคนให้เข้ากัน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางลงในกระทะทอง
3. ยกกระทะตั้งไฟอ่อนๆ กวนไปเรื่อยๆจนงวดและขนมจับตัวกันเป็นก้อนล่อนจากกระทะ รีบยกลงจากเตา แล้วกวนข้างล่างสักครู่ พักไว้พอคลายร้อนเล็กน้อย
4. ตักขนมลงพิมพ์ไม้ กดแน่นพอสมควร พิมพ์ต้องโรยนวล ก่อนแล้วเคาะจากพิมพ์
5. ใส่ถาดผึ่งแดดไว้สัก 2-3 ชั่วโมง หรือให้ผิวแห้งตกผลึก แต่ข้างในนุ่ม จากนั้นจึงเก็บใส่โหล อบดอกมะลิหรือควันเทียน 

กลเม็ดเคล็ดลับ

1. ถ้าใช้แป้งมัน ให้ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
2. ถ้าใช้แป้งข้าวเหนียว ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง น้ำตาล 1/3 ถ้วย ตวง กะทิ 3 ถ้วยตวง กวนนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง
3. ไฟที่กวนควรต้องอ่อนและคนตลอดเวลา ลักษณะที่ดีของสัมปันนี ควรมีสีอ่อนๆ พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อขนมดูใสๆ ข้างนอกตกผลึกละเอียดบางๆ ข้างในใสเป็นใย





อ้างอิง :   http://www.travel.truelife.com/
               http://www.bloggang.com
                http://www.pim.in.th

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขนมไข่ปลา


ขนมไข่ปลา

         ขนมไข่ปลา  เป็นขนมไทยพื้นบ้านในแถบจังหวัดที่มีการปลูกต้นตาล จุดเด่นของขนมคือ รูปทรงขนมที่มีเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมเนื้อตาลประกอบกับความเหนียวนุ่ม หวาน มัน เค็ม กำลังดี ขนมไข่ปลาจึงอร่อยติดลิ้นของผู้ที่ลิ้มลอง ในปัจจุบันพบว่าขนมไข่ปลามีให้ซื้อรับประทานเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น ขนมไข่ปลา เหมาะสำหรับทำเลี้ยงรับรองแขก ใช้เป็นขนมถวายพระในงานบุญ หรือทำเป็นอาชีพก็ได้ นับเป็นอีกหนึ่งขนมไทยพื้นบ้านที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว 
         ส่วนผสม

1. แป้งข้าวเหนียว 250 กรัม       2. แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
3. เนื้อตาล 150 กรัม                 4. น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง

5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา             6. น้ำตาลทราย 500 กรัม

7. น้ำ 2 1/2 ถ้วย                        8. มะพร้าว 1/2 ซีก

9. งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ            10. ใบเตย

ลักษณะขนม
- ขนมมีผิวมัน รสหวาน และเค็มเล็กน้อยจากมะพร้าว หอมกลิ่นเนื้อตาลสุก
- ไม่ควรให้น้ำเชื่อมเข้มข้นเกินไป เพราะจะทำให้ขนมมีรสหวานจัด

วิธีทำ


1. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำตาล น้ำเปล่า และใบเตย ลงในหม้อ ตั้งไฟ

 คนจนน้ำตาลละลายและเดือด เคี้ยวให้น้ำเชื่อมเข้มข้นเล็กน้อย

2.คลุกมะพร้าวทึนทึกกับเกลือให้เข้ากัน นำไปนึ่งประมาณ 3 -5 นาที 

3. เตรียมแป้งขนมไข่ปลา โดยร่อนแป้งข้าวเหนียว 2 ครั้งใส่ชามผสม ใส่เนื้อลูกตาลสุก นวดพอเข้ากัน

 จึงค่อย ๆ ใส่น้ำตาลทรายและหัวกะทิ นวดต่อจนแป้งเนียนนุ่น ไม่ติดมือ

 แล้วปั้นแป้งให้หัวท้ายแหลมไม่มาก จากกนั้นนำหัวท้ายมาติดกัน ปั้นจนหมด

4. ใส่ขนมไข่ปลาที่ปั้นแล้ว ลงต้มในหม้อน้ำเชื่อมที่กำลังเดือด รอจนขนมสุก

 จะลอยขึ้นมา ตักขึ้นนำไปคลุกกับมะพร้าวทึนทึก จัดใส่จานให้สวยงาม

ได้ประมาณ 25 - 30 ชิ้น








อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
               http://www.bloggang.com
                http://www.pim.in.th

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

ขนมกง


ขนมกง

     ขนมกง เป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา "ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี" ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก 
    
          ส่วนผสม
1. ถั่วเขียวคั่วบด 4 ¼ ถ้วย
2. แป้งข้าวเหนียว ¼ ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ½ ถ้วย
4. กะทิ 2 ¼ ถ้วย

แป้งสำหรับชุบ
1. แป้งสาลี
2. ไข่แดง
3. น้ำ
4. น้ำมันพืช
5. เกลือ
6. น้ำมันพืชสำหรับทอด

       วิธีการทำ
1. กะทิน้ำตาลทรายผสมเข้าด้วยกันในกระทะทองเหลือง ยกขึ้นตั้งไฟพอน้ำกะทิเดือดใส่ถั่วเขียวบดและแป้งข้าวเหนียวลงไป
2. กวนจนแป้งที่ได้มีลักษณะเหนียว จนปั้นได้
3. ปั้นถั่วกวนที่ได้เป็นก้อนกลม 2 ขนาด ขนาดที่เล็กกว่าคลึงเป็นเส้นยาว 2 เส้น วางพาดบนวงกลมให้เป็นรูปกากบาท ทำจนหมดเตรียมไว้สำหรับชุบทอด
4. ผสมแป้งสาลี ไข่แดง น้ำ เกลือ น้ำมันพืช ใช้ตะกร้อมือหรือเครื่องตีไข่ ตีผสมให้เข้ากัน
5. นำขนมที่ได้ลงชุบแล้วนำลงทอดให้แป้งสุกเหลือง ตักขึ้นทิ้งให้สะเด็ดน้ำมัน หรือซับด้วยกระดาษสำหรับซับน้ำมัน







อ้างอิง :   http://th.openrice.com
              http://www.oocities.org
              http://www.foodtravel.tv
ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

กระยาสารท



กระยาสารท

   กระยาสารท (อ่านว่า กระ-ยา-สาด) เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่า

เมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท
       
      ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน       พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ

 ส่วนผสม
1. กะทิ 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลปีบ 7 กิโลกรัม
3. แบะแซ 7 กิโลกรัม
4. ถั่วลิสง 15 กิโลกรัม
5. งา 2 กิโลกรัม 
6. ข้าวตอก 0.5 กิโลกรัม
7. ข้าวเม่า 3 กิโลกรัม
วิธีการทำกระยาสารท
1. คั่วถั่วลิสงไปให้สุก จากนั้นก็กะเทาะเปลือกออกให้หมด และคลึงถั่วให้แตกเป็นซีกๆ
2. คั่วงาให้สุก มีสีเหลืองอ่อน และหอม
3. ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ  แบะแซ ใส่ในกระทะที่ตั้งไฟตามส่วนผสมตามข้างต้น แล้วเคี่ยวให้เข้ากัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
4. ผสมถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว ข้าวเม่า  ข้าวตอก คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ และเมื่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ยกกระทะลง
5. นำไปใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ หรือ ตักใส่แบบพิมพ์ ตามแบบที่เราต้องการ แล้วแต่ความต้องการของตลาด แต่ส่วนมากจะตักใส่แบบพิมพ์ และตัดเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน





อ้างอิง : http://muaynika.wordpress.com
              http://th.wikipedia.org
 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9