วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบสอบถามความพึงพอใจ

ฝากท่านผู้ชมบล็อกขนมไทย ขอเชิญร่วมทำแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับบล็อก 
" ขนมไทย " กันนะค้ะ

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขนมทองชมพูนุช


ขนมทองชมพูนุช 

           ขนมทองชมพูนุช    องชมพูนุชมีรสชาติ และสีขนมคล้ายทองเอก แต่ต่างจากทองเอก ในเรื่องของส่วนผสมแป้งคนละชนิดกัน และไม่ติดทองคำเปลวแท้ มีสีเหลืองโปร่ง สุขสว่าง ตามความหมายของชื่อทองชมพูนุช 

           ส่วนผสม
สำหรับประมาณ 40-45 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดพิมพ์ที่ใช้กดแต่ละลวดลาย
เวลา 45 นาที โดยประมาณ 

1. ไข่ไก่(ไข่แดง) 5 ฟอง 
2. แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
3. แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
4. กะทิ 1 ถ้วยตวง
5. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

        วิธีทำ

1. ผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ให้เข้ากัน นวดด้วยกะทิ
2. นำไข่แดง น้ำตาลทราย คนให้เข้ากันแล้วนำมารวมกับส่วนผสมข้อ 1
3. นำขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ กวนจนได้
4. ใส่พิมพ์ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเคาะออก นำไปอบควันเทียน 



อ้างอิง : http://www.foodtravel.tv           
            http://th.wikipedia.org
            http://www.kanomthongthai.ueuo.com/

 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9        

ขนมกลีบลำดวน

กลีบลำดวน

        กลีบลำดวน  ขนมไทยโบราณชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแป้งสาลี เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน เหตุที่เรียกว่ากลีบลำดวนเนื่องจากลักษณะของขนมชนิดนี้คล้ายกับดอกลำดวน

      ส่วนผสม

1. แป้งสาลี (ร่อน-ตวง) 1 ถ้วย
2. น้ำตาล (ป่น-ร่อน-ตวง) หรือ น้ำตาลไอซิ่ง 1/2 ถ้วย
3. น้ำมันหมู 3 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
5. เทียนอบ 


     วิธีทำ

1. ผสมแป้งสาลีกับน้ำตาลเข้าด้วยกัน นำไปร่อน 2 ครั้ง เสร็จแล้วใส่น้ำมันพืช (หรือเนยขาว) ลงไปผสม นวดจนส่วนผสมทั้งสามเข้ากันดี

2. ปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆขนาดเท่าๆกัน ใช้มีดคมๆแบ่งแป้งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน

3. จับวางเป็น 3 กลีบ ส่วนอีก 1 กลีบที่เหลือให้ปั้นเป็นลูกกลมๆวางตรงกลางกลีบทั้งสามเป็นเกสร ก็จะได้รูปทรงดอกไม้ ทำเช่นนี้จนแป้งหมด เรียงไว้ในถาด

4. นำแป้งไปอบที่อุณหภูมิประมาณ 300 องศาฟาเรนไฮต์ประมาณ 10 - 15 นาทีหรือจนสุก จะได้ขนมที่มีลักษณะผิวนวล กรอบ นำไปอบควันเทียนให้หอม ก็พร้อมรับประทานได้ทันที
หมายเหตุ : ถ้าต้องการกลีบหรือเกสรที่ต่างสีกัน ก็ให้แยกส่วนผสมแป้งในขั้นตอนที่หนึ่ง แล้วผสมสีตาม ที่ชอบขณะใส่น้ำมันพืชลงไปนวด ควรใช้สีโทนอ่อนจะน่ารับประทานมากกว่าสีเข้ม




อ้างอิง : http://www.foodtravel.tv
            http://th.wikipedia.org
            http://www.ezythaicooking.com
 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9        

ขนมลืมกลืน

ขนมลืมกลืน

            ขนมลืมกลืน ขนมไทยที่ทำจากแป้งถั่วเขียวหรือแป้งสลิ่ม ผสมน้ำลอยดอกไม้และน้ำตาล นำไปกวนจนใส หยอดหน้าด้วยกะทิ รสชาติหวานหอม มันๆ เค็มๆ จากตัวกะทิ ทานอร่อยจนทำให้ลืมกลืนตามชื่อขนมไปเลย 

          ส่วนผสม

ระยะเวลาประมาณ 1ชม 30 นาที
สำหรับ 50 พิมพ์กลมเล็ก


1. แป้งถั่ว 1 ถ้วย
2. น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 6 ช้อนโต๊ะ
4. หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
5. แป้งข้าวเจ้า 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
6. เกลือป่น 1/3 ช้อนชา
7. สีผสมอาหาร (ตามชอบ เช่น ชมพู ม่วง)


        วิธีทำ
1. อ่างผสมใส่แป้งถั่ว น้ำตาลทราย น้ำลอยดอกมะลิ คนให้ละลาย (ทำกี่สีก็แบ่งแป้งที่ผสมไว้ตามจำนวนสีที่ทำ) 
2. นำแป้งเทกรองใส่ผ้าขาวบางรองด้วยกระชอน ใส่ในกะทะทอง ใส่สีผสมอาหารที่ผสมน้ำให้เจือจาง (เพื่อให้สีให้อ่อนๆ) ตั้งไฟอ่อนถึงกลาง กวนจนแป้งสุกใส ตักหยอดพิมพ์ จนเต็มพิมพ์ ควรรีบใส่เพราะทิ้งไว้น้ำแป้งเย็นตัวจะจับตัวเป็นก้อน
3. กะทะทองใส่แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ เกลือ กวนไฟอ่อนๆ จนข้นขาว ใส่หยอดบนหน้าขนม หรือใส่กรวยบีบ


 
       เทคนิคการทำ

1. ตัวแป้งที่กวนจะแข็งตัวเร็ว ต้องรีบหยอด มิฉะนั้น ขนมจะไม่เรียบ
2. หน้าขนมต้องรีบหยอดขณะที่ตัวขนมยังไม่เย็น มิฉะนั้นหน้าขนมจะไม่ติดกับตัวขนม
3. หน้าขนมอาจใช้วิธีบีบโดยใส่หัวบีบเค้กบีบได้     

 






อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
              http://www.isaansmile.com
             
ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

บุหลันดั้นเมฆ


บุหลันดั้นเมฆ

       บุหลันดั้นเมฆ เป็นขนมแบบไทย ๆ ที่ดัดแปลงเพิ่มเติมจากขนมน้ำดอกไม้ มาใส่หน้าสังขยากลาย ๆ ทำให้รสชาติหวานแหลมและหอมขึ้น คำว่าบุหลันหมายถึงดวงจันทร์ ลักษ่ณะตัวขนมใช้น้ำดอกอัญชันสีฟ้าครามแทนเมฆ และวางไข่แดงตรงกลางแทนดวงจันทร์ มีสีสันสวยงาม รสชาติอร่อย 

       ส่วนผสม

สำหรับ 60-70 ถ้วย
เวลาที่ใช้ 90 นาที
1. แป้งข้าวเจ้า 110 กรัม
2. แป้งถั่วเขียว 50 กรัม
3. แป้งมันสำปะหลัง 20 กรัม
4. น้ำลอยดอกมะลิ 500 กรัม
5. น้ำตาลทราย 120 กรัม
6. ดอกอัญชัน (เอาเฉพาะกลีบสีน้ำเงินเข้มบี้หรือบด ผสมน้ำร้อนแล้วกรอง) 10-15 ดอก 

ส่วนผสมหน้าไข่แดง
1. ไข่ไก่ใช้แต่ไข่แดง 6 ฟอง
2. น้ำตาลทรายบดละเอียด 30 กรัม
3. น้ำตาลปี๊บ 20 กรัม

    วิธีทำ

    1. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทรายให้เข้ากัน ค่อย ๆ ใส่น้ำนวดจนนุ่ม จึงใส่น้ำที่เหลือจนหมด ใส่สีคนให้เข้ากัน
     2. เรียงถ้วยตะไลในลังถึง นำไปนึ่งในน้ำเดือด ๆ 10 นาที จึงนำแป้งที่ผสมมาคนให้แป้งเข้ากัน แล้วตักหยอดใส่ในถ้วยตะไลให้เต็ม ปิดลังถึง นึ่งในน้ำเดือดพล่าน นาย 3 นาที จึงยกลง พักให้ถ้วยอุ่น ๆ หยิบถ้วยมาเทเอาแป้งที่ยังไม่สุกออก ขนมจะเป็นรอยบุ๋มตรงกึ่งกลาง
     3. ผสมไข่แดง กับน้ำตาลทราย คนจนน้ำละลาย ตักหยอดในถ้วยขนมที่มีหน้าเป็นรอยบุ๋ม ให้เต็ม แล้วนำไปนึ่งไฟกลาง 10 นาที แล้วยกลง พักไว้ให้เย็น จึงแกะออกจากถ้วย




อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
               http://www.food-recipes.vzazaa.com
                http://www.mwthaicook.com

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

ขนมสัมปันนี

ขนมสัมปันนี

    ขนมสัมปันนีหรือสัมปะนี เป็นขนมไทยโบราณ จัดว่าเป็นขนมมงคลที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงาน มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส เรียกได้ว่ามาพร้อมๆกับขนมตระกูลทองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

     ส่วนผสม
1. แป้งสาลีเอนกประสงค์     1/2 ถ้วยตวง
2. กะทิข้น   3 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย    3 ถ้วยตวง
4. เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
5. สีผสมอาหาร
6. แป้งมันคั่วสุกแต่ไม่เหลืองสำหรับทำนวล

   วิธีทำ
1. ผสมกะทิกับน้ำตาลในกระทะทอง ตั้งไฟคนพอน้ำตาลละลายหมด ยกลงพักไว้จนเย็น
2. เคล้าแป้งกับเกลือแล้วเทกะทิจากกระทะลงคนให้เข้ากัน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางลงในกระทะทอง
3. ยกกระทะตั้งไฟอ่อนๆ กวนไปเรื่อยๆจนงวดและขนมจับตัวกันเป็นก้อนล่อนจากกระทะ รีบยกลงจากเตา แล้วกวนข้างล่างสักครู่ พักไว้พอคลายร้อนเล็กน้อย
4. ตักขนมลงพิมพ์ไม้ กดแน่นพอสมควร พิมพ์ต้องโรยนวล ก่อนแล้วเคาะจากพิมพ์
5. ใส่ถาดผึ่งแดดไว้สัก 2-3 ชั่วโมง หรือให้ผิวแห้งตกผลึก แต่ข้างในนุ่ม จากนั้นจึงเก็บใส่โหล อบดอกมะลิหรือควันเทียน 

กลเม็ดเคล็ดลับ

1. ถ้าใช้แป้งมัน ให้ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
2. ถ้าใช้แป้งข้าวเหนียว ใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง น้ำตาล 1/3 ถ้วย ตวง กะทิ 3 ถ้วยตวง กวนนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง
3. ไฟที่กวนควรต้องอ่อนและคนตลอดเวลา ลักษณะที่ดีของสัมปันนี ควรมีสีอ่อนๆ พิมพ์คมชัดสวยงาม เนื้อขนมดูใสๆ ข้างนอกตกผลึกละเอียดบางๆ ข้างในใสเป็นใย





อ้างอิง :   http://www.travel.truelife.com/
               http://www.bloggang.com
                http://www.pim.in.th

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขนมไข่ปลา


ขนมไข่ปลา

         ขนมไข่ปลา  เป็นขนมไทยพื้นบ้านในแถบจังหวัดที่มีการปลูกต้นตาล จุดเด่นของขนมคือ รูปทรงขนมที่มีเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมเนื้อตาลประกอบกับความเหนียวนุ่ม หวาน มัน เค็ม กำลังดี ขนมไข่ปลาจึงอร่อยติดลิ้นของผู้ที่ลิ้มลอง ในปัจจุบันพบว่าขนมไข่ปลามีให้ซื้อรับประทานเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น ขนมไข่ปลา เหมาะสำหรับทำเลี้ยงรับรองแขก ใช้เป็นขนมถวายพระในงานบุญ หรือทำเป็นอาชีพก็ได้ นับเป็นอีกหนึ่งขนมไทยพื้นบ้านที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว 
         ส่วนผสม

1. แป้งข้าวเหนียว 250 กรัม       2. แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
3. เนื้อตาล 150 กรัม                 4. น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง

5. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา             6. น้ำตาลทราย 500 กรัม

7. น้ำ 2 1/2 ถ้วย                        8. มะพร้าว 1/2 ซีก

9. งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ            10. ใบเตย

ลักษณะขนม
- ขนมมีผิวมัน รสหวาน และเค็มเล็กน้อยจากมะพร้าว หอมกลิ่นเนื้อตาลสุก
- ไม่ควรให้น้ำเชื่อมเข้มข้นเกินไป เพราะจะทำให้ขนมมีรสหวานจัด

วิธีทำ


1. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำตาล น้ำเปล่า และใบเตย ลงในหม้อ ตั้งไฟ

 คนจนน้ำตาลละลายและเดือด เคี้ยวให้น้ำเชื่อมเข้มข้นเล็กน้อย

2.คลุกมะพร้าวทึนทึกกับเกลือให้เข้ากัน นำไปนึ่งประมาณ 3 -5 นาที 

3. เตรียมแป้งขนมไข่ปลา โดยร่อนแป้งข้าวเหนียว 2 ครั้งใส่ชามผสม ใส่เนื้อลูกตาลสุก นวดพอเข้ากัน

 จึงค่อย ๆ ใส่น้ำตาลทรายและหัวกะทิ นวดต่อจนแป้งเนียนนุ่น ไม่ติดมือ

 แล้วปั้นแป้งให้หัวท้ายแหลมไม่มาก จากกนั้นนำหัวท้ายมาติดกัน ปั้นจนหมด

4. ใส่ขนมไข่ปลาที่ปั้นแล้ว ลงต้มในหม้อน้ำเชื่อมที่กำลังเดือด รอจนขนมสุก

 จะลอยขึ้นมา ตักขึ้นนำไปคลุกกับมะพร้าวทึนทึก จัดใส่จานให้สวยงาม

ได้ประมาณ 25 - 30 ชิ้น








อ้างอิง :   http://www.foodtravel.tv
               http://www.bloggang.com
                http://www.pim.in.th

ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

ขนมกง


ขนมกง

     ขนมกง เป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา "ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี" ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก 
    
          ส่วนผสม
1. ถั่วเขียวคั่วบด 4 ¼ ถ้วย
2. แป้งข้าวเหนียว ¼ ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ½ ถ้วย
4. กะทิ 2 ¼ ถ้วย

แป้งสำหรับชุบ
1. แป้งสาลี
2. ไข่แดง
3. น้ำ
4. น้ำมันพืช
5. เกลือ
6. น้ำมันพืชสำหรับทอด

       วิธีการทำ
1. กะทิน้ำตาลทรายผสมเข้าด้วยกันในกระทะทองเหลือง ยกขึ้นตั้งไฟพอน้ำกะทิเดือดใส่ถั่วเขียวบดและแป้งข้าวเหนียวลงไป
2. กวนจนแป้งที่ได้มีลักษณะเหนียว จนปั้นได้
3. ปั้นถั่วกวนที่ได้เป็นก้อนกลม 2 ขนาด ขนาดที่เล็กกว่าคลึงเป็นเส้นยาว 2 เส้น วางพาดบนวงกลมให้เป็นรูปกากบาท ทำจนหมดเตรียมไว้สำหรับชุบทอด
4. ผสมแป้งสาลี ไข่แดง น้ำ เกลือ น้ำมันพืช ใช้ตะกร้อมือหรือเครื่องตีไข่ ตีผสมให้เข้ากัน
5. นำขนมที่ได้ลงชุบแล้วนำลงทอดให้แป้งสุกเหลือง ตักขึ้นทิ้งให้สะเด็ดน้ำมัน หรือซับด้วยกระดาษสำหรับซับน้ำมัน







อ้างอิง :   http://th.openrice.com
              http://www.oocities.org
              http://www.foodtravel.tv
ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9

กระยาสารท



กระยาสารท

   กระยาสารท (อ่านว่า กระ-ยา-สาด) เป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่า

เมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท
       
      ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน       พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ

 ส่วนผสม
1. กะทิ 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลปีบ 7 กิโลกรัม
3. แบะแซ 7 กิโลกรัม
4. ถั่วลิสง 15 กิโลกรัม
5. งา 2 กิโลกรัม 
6. ข้าวตอก 0.5 กิโลกรัม
7. ข้าวเม่า 3 กิโลกรัม
วิธีการทำกระยาสารท
1. คั่วถั่วลิสงไปให้สุก จากนั้นก็กะเทาะเปลือกออกให้หมด และคลึงถั่วให้แตกเป็นซีกๆ
2. คั่วงาให้สุก มีสีเหลืองอ่อน และหอม
3. ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ  แบะแซ ใส่ในกระทะที่ตั้งไฟตามส่วนผสมตามข้างต้น แล้วเคี่ยวให้เข้ากัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
4. ผสมถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว ข้าวเม่า  ข้าวตอก คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ และเมื่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ยกกระทะลง
5. นำไปใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ หรือ ตักใส่แบบพิมพ์ ตามแบบที่เราต้องการ แล้วแต่ความต้องการของตลาด แต่ส่วนมากจะตักใส่แบบพิมพ์ และตัดเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน





อ้างอิง : http://muaynika.wordpress.com
              http://th.wikipedia.org
 ผู้จัดทำ : นางสาวณัฐมน เรือนทอง เลขที่ 10 ม.4/9        

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog

   แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog รายวิชา ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ผู้เสนอ นางสาวณัฐมน เรือนทอง  ชั้น ม.4/9 เลขที่ 10

ชื่อ blog ภาษาไทย  ขนมไทย  ชื่อ blog ภาษาอังกฤษ  Thai Dessert

ที่อยู่ blog  thaildessert.blogspot.com

ครูที่ปรึกษา  ครูศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์ 

ที่มาและความสำคัญ
ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย บ่งบอกวิถีชีวิตของคนไทยและนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ขนมมงคล 9 อย่าง ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมเม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมทองเอก ขนมจ่ามงกุฏ ขนมถ้วยฝู และขนมเสน่ห์จันทน์ เป็นต้น ผู้จัดทำจึงจัดทำ blog ขนมไทยขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมไทยให้แก่ผู้ที่สนใจจะศึกษานำไปเผยแพร่ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
           1.เพื่อทำบล็อกขนมไทย ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
           2. เพื่อศึกษาการสร้างบล็อก 
           3. เพื่อสร้างบล็อกขนมไทย
           4.เพื่อประเมินบล็อกที่สร้างขึ้น  

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการพัฒนา
1.www.bloger.com
2.adobe Photoshop

ขอบเขต
เนื้อหาภายใน blog จะประกอบไปด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับขนมไทย โดยมีหัวข้อหลักดังนี
1. ความหมาย
2. นำขนมไทยมาประกอบพิธี
3. ส่วนผสม
4. วิธีการทำ
5. รูปภาพของขนมไทย
6.วิดีโอสอนทำขนมไทย


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1.เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
     2.ได้รับความรู้ในการสร้าง blog